ที่ | ชื่อ – สกุล | องค์ประกอบ | ตำแหน่ง ใน กศจ. | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1 | นายสนั่น พงษ์อักษร | ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ | ประธานกรรมการ | กก.โดยตำแหน่ง | |
2 | นายสุภชัย จันปุ่ม ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 13 รักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และรักษาการศึกษาธิการภาค 12 | ศึกษาธิการภาค 12 | รองประธานกรรมการ | 8 พ.ค. 60 | กก.โดยตำแหน่ง |
3 | นางพรทิพย์พา คาวีวงศ์ ผอ. สกร. จังหวัดกาฬสินธุ์ | ผอ.กศน. จังหวัดกาฬสินธุ์ (ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบตามอัธยาศัย และการศึกษา | กรรมการ | 8 พ.ค. 60 | กก.โดยตำแหน่ง |
4 | นายประดิษฐ์ ญาณประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ | (ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ (ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) | กรรมการ | 24 ก.พ.66 | กก.โดยตำแหน่ง |
5 | นายวิเศษ พลอาจทัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 | ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | กรรมการ | 29 พ.ย. 65 | กก.โดยตำแหน่ง |
6 | นายเสน่ห์ คำสมหมาย ข้าราชการบำนาญ | ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา | กรรมการ | 30 มิ.ย. 66 | กก.โดยตำแหน่ง |
7 | นางกฤษณา บุตรพรม นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน | ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน | กรรมการ | กก.โดยตำแหน่ง | |
8 | รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดี ม.กาฬสินธุ์ | ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | กรรมการ | 8 พ.ค. 60 | กก.โดยตำแหน่ง |
9 | นายสมบูรณ์ นาสาทร ข้าราชการบำนาญ | ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | 4 ก.ค. 65 | กก.โดยการสมัครคัดเลือก |
10 | ว่าง | ||||
11 | นายวันชาติ บัวสิงห์ ข้าราชการบำนาญ | ผู้แทนภาคประชาชน | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | 4 ก.ค. 65 | กก.โดยการสมัครคัดเลือก |
12 | นายกิตติพศ พลพิลา ข้าราชการบำนาญ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | 4 ก.ค. 65 | กก.โดยการสมัครคัดเลือก |
13 | นายสิทธิพร ไกยเดช ข้าราชการบำนาญ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | 4 ก.ค. 65 | กก.โดยการสมัครคัดเลือก |
14 | นายประสาน จันทร์สว่าง ข้าราชการบำนาญ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | 4 ก.ค. 65 | กก.โดยการสมัครคัดเลือก |
15 | ศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ | ศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ (กรรมการและเลขานุการ) | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ | กก.โดยตำแหน่ง | |
16 | รองศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ | รองศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ (ผู้ช่วยเลขานุการ) | ผู้ช่วยเลขานุการ | กก.โดยตำแหน่ง | |
17 | ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล | ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ศธจ.กาฬสินธุ์ (ผู้ช่วยเลขานุการ) | ผู้ช่วยเลขานุการ | กก.โดยการคัดเลือก | |
18 | นายอานนท์ ชัยรินทร์ | นักทรัพยากรบุคคล ศธจ.กาฬสินธุ์ (ผู้ช่วยเลขานุการ) | ผู้ช่วยเลขานุการ | กก.โดยการคัดเลือก |
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 ข้อ 7 กำหนดให้ในแต่ละจังหวัด มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กศจ.” ประกอบด้วย
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(2) ศึกษาธิการภาคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ
(3) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกรรมการ
(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนตามข้อ ๒ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และผู้แทนภาคประชาชน ด้านละหนึ่งคน
(5) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
(6) รองศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้ช่วยเลขานุการกศจ. อาจแต่งตั้งข้าราชการในสำ นักงานศึกษาธิการจังหวัดจำ นวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้
อำนาจหน้าที่
ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 ข้อ 8 และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 ให้ กศจ. มีอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(1) อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ***(ยกเลิกตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565) ***
(2) กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย
(3) พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษา
(4) พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(5) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
“ในการเสนอความเห็นตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบข้าราชดารครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”
*** (เพิ่มเติม ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565)***
(6) กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(7) วางแผนการจัดการศึกษาและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
(8) เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ 9 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน 2560
(9) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความจำเป็นเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ซึ่งอย่างน้อยต้องมีคณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ และคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา โดยให้นำองค์ประกอบของ อกศจ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมในการเสนอและการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามวรรคหนึ่ง ต้องคำนึงถึงวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ความคุ้มค่า ความประหยัด ความรวดเร็วและไม่เป็นการเพิ่มขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่จำเป็น
(10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค มอบหมาย
522 total views, 3 views today